การแพร่ของสาร (Diffusion) หมายถึง กระบวนการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของสารจากบริเวณที่มี
ความเข้มข้นสูงไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำ หรือจากบริเวณที่มีจำนวนโมเลกุลของสารมากไปยังบริเวณที่มีโมเลกุลของสารมากหรือไม่มีโมเลกุลของสารเลย การแพร่เกิดจากสารในที่ 2 แห่งมีความเข้มข้นต่างกันและการแพร่จะยุติเมื่อสารในที่ 2 แห่งมีความเข้มข้นเท่ากัน เช่นเดียวกับแร่ธาตุจากดินเข้าสู่รากพืชได้ เพราะความเข้มข้นของแร่ธาตุในดินมีมากกว่าความเข้มข้นของแร่ธาตุในรากพืชแร่ธาตุจากดินจึงแพร่เข้าสู่รากพืชได้
ลักษณะของสมดุลการแพร่ คือ การที่สารมีความเข้มข้นเท่ากันทุกบริเวณและโมเลกุลของสารยังเกิดการเคลื่อนที่ตลอดเวลาและสารจะมีการแพร่ไปทุกทิศทาง ตัวอย่างการแพร่ในชีวิตประจาวัน เช่น การได้กลิ่นน้ำหอม การกระจายของด่างทับทิมในน้ำ การแพร่ของเกลือในน้ำ การแพร่น้ำหอมในอากาศ
การแพร่ของยากันยุง เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่ ได้แก่
1. ความเข้มข้นของสาร สารที่เข้มข้นมากจะแพร่ได้เร็ว
2. อุณหภูมิ การเพิ่มอุณหภูมิทำให้การแพร่เป็นไปได้เร็วขึ้น
3. ความดัน การเพิ่มความดันช่วยให้โมเลกุลหรืออิออนของสารเคลื่อนที่ได้ดีขึ้น
4. สิ่งเจือปนอื่น ๆ สิ่งเจือปนที่ปนอยู่ในสารจะเป็นอุปสรรคขัดขวางทำให้การแพร่เกิดได้ช้า
5. การดูดติดของสารอื่น ถ้าโมเลกุลหรืออิออนของสารที่แพร่ถูกดูดติดด้วยองค์ประกอบ
ของสารต่าง ๆ จะทำให้ความสามารถในการแพร่ลดลง
6. ความแตกต่างของความเข้มข้น ถ้าหากมีความเข้มข้นของสาร 2 บริเวณแตกต่างกันมาก จะทำให้ การแพร่เกิดขึ้นได้เร็วขึ้นด้วย
7. ขนาดและน้ำหนักของโมเลกุลสาร สารที่มีขนาดโมเลกุลเล็กและเบาจะเกิดการแพร่ได้เร็วกว่า
สารโมเลกุลใหญ่และหนักมาก
8. ความเข้มข้นและชนิดของสารตัวกลาง สารตัวกลางที่มีความเข้มข้นมากจะมีแรงดึงดูดระหว่าง โมเลกุลของตัวกลางมาก ทำให้โมเลกุลของสารเคลื่อนที่ไปได้ยาก แต่ถ้าหากสารตัวกลางมี
ความเข้มข้นน้อย โมเลกุลของสารก็จะเคลื่อนที่ได้ดีทำให้การแพร่เกิดขึ้นเร็วด้วย

ใบความรู้
